วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รำบูชาพระธาตุพนม



การรำบูชาพระธาตุพนม เป็นการรวมตัวของชนพื้นเมืองต่าง ๆ รวม 7 เผ่า ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครพนม แต่งกายด้วยเสื้อผ้าประจำเผ่าของตน และร่ายรำในท่วงท่าอันงดงามเพื่อบูชาองค์พระธาตุพนม และจะแสดงในวันแรกของงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี รำบูชาพระธาตุพนม ณ บริเวณหน้าวัดพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม โดยมีพระราชธีราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดนครพนม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม เป็นประธานสงฆ์ ประกอบพิธีทางศาสนาในพิธีรำบูชาพระธาตุพนมซึ่งจังหวัดนครพนม คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดนครพนม ร่วมจัดขึ้นในพิธี ก่อนไหลเรือไฟในวันออกพรรษา การรำบูชาถวายองค์พระธาตุพนม เป็นประเพณีอันดีงามของชาวจังหวัดนครพนม ซึ่งถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเทศกาลงานสำคัญ เช่น งานเทศกาลนมัสการพระธาตุพนม หรือในวันออกพรรษาก่อนงานไหลเรือไฟ ก่อนการรำบูชาพระธาตุพนมนั้น ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน ได้ร่วมแห่เครื่องสักการบูชาประธานในพิธี ได้กล่าวคำบูชาไหว้พระธาตุพนม หลังจากนั้น ได้จัดชุดรำบูชาพระธาตุพนม 7 ชุด คือ รำตำนานพระธาตุพนม รำศรีโคตรบูรณ์ รำผู้ไทยรำหางนกยูง รำไทยญ้อ รำขันหมากเบ็ง และรำเซิ้งอีสาน มีประชาชนและนักท่องเที่ยวจากหลายจังหวัด มาเที่ยวชมประเพณีรำบูชาประธาตุพนม อย่างเนืองแน่น. 

พิธีรำบูชาพระธาตุพนม มี 6  ชุดรำดังต่อไปนี้
ชุดที่1 รำตำนานพระธาตุพนม







รำตำนานพระธาตุพนม

เป็นการรำบูชาพระธาตุพนมที่ปรับปรุงมาจากการฟ้อนรำแห่กองบุญในเทศกาลงานนมัสการพระธาตุพนม  ได้นำเอาบทสวดสดุดีองค์พระธาตุพนมทำนองสรภัญญะ  มาประกอบกับวงดนตรีมโหรี  ซึ่งกล่าวถึงตำนานและความพิสดารขององค์พระธาตุพนม

การรำชุดนี้แสดงครั้งแรกในงานสมโภชพระธาตุพนมองค์ใหม่  เมื่อ พ.ศ. 2522  ถือเป็นเอกลักษณ์ใช้รำเปิดงานนมัสการพระธาตุพนมทุกครั้ง  จนถึงปัจจุบัน  และได้นำมารำบูชาพระธาตุพนมในงานไหลเรือไฟของจังหวัดนครพนมตั้งแต่  พ.ศ.  2530  เป็นต้นมา

Pra  Thaphanom  Legend  Dance

First  performed  during  the  Royal  ceremony  for  the  ornamental  umbrella  installation  in  1979.  The  dance  symbolizes  the  people's  dovotion  to  Pra  Thatphanom  in  the  annual  Illuminated  Boat  festival  since  1987.




ชุดที่2 รำศรีโคตรบูร


รำศรีโคตรบูรนครพนมเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโคตรบูรที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมากในอดีต  ในอาณาบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำโขง  อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดนครพนม  มุกดาหาร  และฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบริเวณแขวงคำม่วนและสุวรรณเขต  ในปัจจุบันเป็นดินแดนแห่งการสั่งสมวัฒนธรรมอันเก่าแก่แห่งหนึ่ง  รำศรีโคตรบูรถูกปรับปรุงให้เป็นชุดรำประจำจังหวัดนครพนม  เพื่อแสดงให้ระลึกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีตสืบมาจนปัจจุบัน  แสดงถึงการแสดงที่ผสมผสานกันของการรำเซิ้งที่มีความสนุกสนาน  กับการรำภูไทที่มีความอ่อนช้อย  สวยงาม  มีลักษณะท่ารำตามแบบฉบับของชาวอีสาน  คือ  "ยกสูง  ก้มต่ำ  รำกว้าง"  จากความกลมกลืนระหว่างท่ารำกับดนตรีพื้นเมืองอีสานที่มีเสียงไพเราะและสมบูรณ์ยิ่ง  รำศรีโคตรบูรจึงถือเป็นท่ารำอีกชุดหนึ่งในการรำบูชาพระธาตุพนมในเทศกาลไหลเรือไฟทุกปีSri  Kotaboon  DanceNakhonphanom  is  the  ancient  site  of  Sri  Kotaboon  Kingdom  which  once  encompassed  territories  on  both  sides  of  the  Maekhong  river.  The  Dance  developed  from  both  "Serng"  and  "Phutai"  dancing  stye  with  "Esarn"  musical  instruments  in  order  to  commemorate  Sri  Kotaboon  Kingdom.





ชุดที่3 รำภูไท










ชุดที่4 รำหางนกยูง






รำหางนกยูง
รำหางนกยูงกำเนิดมาแล้วประมาณ  100  ปีเศษ  ใช้สำหรับรำบวงสรวงสักการะเจ้าพ่อหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์  เพื่อประทานพรให้มีชัยชะและแคล้วคลาดจากภยันตรายในการเข้าแข่งขันชิงชัยต่างๆ  โดยเฉพาะในการแข่งขันเรือยาวในเทศกาลออกพรรษา  ปกติการรำชนิดนี้จะแสดงท่ารำบนหัวเรือแข่งและรำถวายหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  ท่ารำได้ดัดแปลงมาจากการรำไหว้ครูของนักรบก่อนออกศึกสงครามในสมัยก่อน  โดยรำอาวุธตามที่ตัวเองฝึก  คือรำดาบ  รำกระบี่กระบองเข้าจังหวะกลองยาว
Peacock  Tail  Dance
The  Peacock  Tail  Dance  is  another  of  Nakhonphanom' s  local  dance  styles,  usually  performed  at  the  annual  festival  celebrating  the  end  of  Buddhist  Rain  Retreat (Awk  Phunsa)  to  ask  for  blessing  the  spirit    of  the  city  for  luck,strength  and  safty.






ชุดที่5  รำไทญ้อ





"ไทญ้อ" เป็นชนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นอาศียอยู่ในเขตอำเภอท่าอุเทน  นาหว้าและโพนสวรรค์  โดยปกติการรำไทญ้อจะพบในเทศกาลสงกรานต์ในช่วงเดือนเมษายนและเทศกาลที่สำคัญเท่านั้น

ในเทศกาลสงกรานต์ชาวไทญ้อจะมีสรงน้ำในตอนกลางวัน  โดยมีการตั้งขบวนแห่จากคุ้มเหนือไปยังคุ้มใต้ลงมาตามลำดับ  ตั้งแต่วันขึ้น  1  ค่ำ  เป็นต้นไป  จนถึงวันเพ็ญ  15  ค่ำ  เดือน  5  ในตอนกลางคืน  หนุ่มสาวชาวบ้านจะจัดทำขบวนแห่ดอกไม้บูชาพระธาตุ  โดยนำต้นดอกจำปา(ลั่นทม)  ไปบูชาวัดต่างๆ  โดยจะเริ่มจากวัดใต้สุดไปหาวัดเหนือสุด  ซึ่งจะเป็นคืนสุดท้าย

เมื่อเสร็จพิธีแห่ดอกไม้บูชาองค์พระธาตุ  จะเป็นช่วงแห่งความสนุกสนานของหนุ่มสาว  ซึ่งจะมีการหยอกล้อ  การเกี้ยวพาราสีของบรรดาหนุ่มสาว

Tai  Yo  Dance

"Tai  Yo"  is  another  subgroup  found  mostly  in  THa  U- Ten, NaWa  and  Phon  Sawan  districts  of  Nakhonphanom.  The  Tai  Yo  Dance  is  always  performed  during  the  Songkran  (Flash)  festival  in  April  and  during  another  special  Buddhist  holidays.


ชุดที่6 รำขันหมากเบ็ง





รำขันหมากเบ็ง

"หมากเบ็ง"  เป็นเครื่องบูชาชนิดหนึ่งของภาคอีสาน  คำว่า  "เบ็ง"  มาจาก  "เบญจ"  หมายถึงการบูชาพระเจ้า 5  พระองค์  คือ  กกุสันโท  โกนาคมโน  กัสสโป  โคตโม  และอริยเมตตรัยโย  ในสมัยพุทธกาลนั้น  พระเจ้าปเสนทิโกศลได้นำขันหมากเบ็งถวายพระพุทธเจ้า  ในปัจจุบันนี้ชาวอีสานโดยเฉพาะเผ่ากะเลิงใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ  ด้วยเหตุนี้จึงได้นำมาประดิษฐ์เป็นท่าฟ้อนรำเพื่อบูชาพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ในการแสดงการฟ้อนรำขันหมากเบ็งแสดงถึงพญาทั้งห้าแห่งอาณาจักรศรีโคตรบูรได้นำขันหมากเบ็งมาถวายองค์พระธาตุพนม

Khun  Mak  Beng  Dance

Mak  Beng  is  an  elaborated  local  natural  objects,  such  as  flower,  banana's  leave  and  other  plant  productivity.  In  the  ancient  time,  It  used  to  pay  respect  to  the  Five  Great  Buddhas;  There  are  Kakusandho,  Khonakamano, Kassapo,  Khodhamo  and  Ariyametraiyo.  The  king  Pasendhikosala  in  ancient  India  used  to  pay  respect  to  the  Buddha  in  the  buddist  era.

Now  a  day  the  Khun  Mak  Beng  is  made  for  pay  respect  to  the  Tripple  Gemes;  There  are  the  Buddha,  Drama  and  Sangha (Monks)  which  lead  by  the  Esarn  sub-group  called  "Ka Rerng"  The  dancing  show  the  Five  Kings  of  the  Ancient  Srikottaboon  Kingdom  pay  respect  to  Phrathatphanom  shrine  with  Khun  Mak  Beng.



 รำเซิ้งอีสานบ้านเฮา โดยนำเอาชุดรำทั้ง6ชุดมารวมกัน